วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สำนวนภาษาอังกฤษ: It takes two to tango

หมายเหตุ  คำสำนวน นั้นในภาษาอังกฤษเรียกว่า idioms
ซึ่งหมายถึง วลี (ถ้อยคำ) ที่นำมาเรียบเรียงให้มีความหมายพิเศษ หรือความหมายเพื่อการเปรียบเทียบ


สวัสดีครับ อย่างที่ได้เคยเกริ่นเอาไว้ ผมจะเขียนสลับหัวข้อไปเรื่อยๆ นะครับ
สำหรับครั้งนี้ จะมานำเสนอ สำนวนภาษาอังกฤษ ที่ว่า "it takes two to tango".

อันดับแรก ผมขอถามท่านผู้อ่านก่อนว่า มีท่านใดเคยเต้นลีลาศบ้างมั้ยครับ
ถึงไม่เคยเต้น แต่ท่านก็น่าจะเคยสังเกตุเห็นนะครับ ว่าการเต้นลีลาศนั้น ส่วนใหญ่เค้าจะเต้นเป็นคู่ (หมายถึงสองคน) โดยเฉพาะการเต้นแทงโก้

และสำหรับวลีนี้ "it takes two to tango" ถ้าจะแปลตรงตัวเป็นภาษาไทย ก็พอจะแปลได้ว่า "จะเต้นแทงโก้ ก็ต้องมีสองคน (ถึงจะเต้นได้)" หรือจะแปลเป็นว่า "เรื่องบางอย่างจะกระทำโดยฝ่ายเดียวไม่ได้"

และความหมายของสำนวนนี้ก็จะตรงกับสำนวนไทยที่ว่า "ตบมือข้างเดียวไม่ดัง"
ผมขอไม่แปลความหมายของสำนวนไทยนี้นะครับ เพราะทุกท่านก็คงจะทราบกันอยู่แล้ว

สวัสดีครับ  :)

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนวคิด: เปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน

คยมั้ย ที่ของที่ซื้อมาตอนไปเที่ยวเมืองนอก มันสวยถูกใจแถมราคายังไม่แพงอีกต่างหาก นึกวาดภาพว่า กลับไปจะเอาไปอวดเพื่อนว่าไปได้ของดีราคาถูกมาจากเมืองนอก แต่พอซื้อกลับมาถึงบ้าน ถึงค่อยมารู้ว่าของชิ้นนั้น เมด อิน ไทยแลนด์

เคยมั้ย ที่คุณทำงานของตัวเองเสร็จแล้ว แต่เพื่อนยังทำงานของเค้าไม่เสร็จ และคุณต้องมารอทำงานชิ้นนั้นต่อจากเพื่อนอีกที แต่เพื่อนก็ยังทำไม่เสร็จซักที สุดท้ายเจ้านายก็สั่งให้ไปช่วยเพื่อนทำงานด้วยให้เสร็จ แล้วค่อยมาทำงานของคุณเองต่อ

และ เคยมั้ย ที่สั่งซื้อของจากทางอินเตอร์เน็ท พอของมาถึงกลับพบว่ามีตำหนิที่เกิดจากการผลิต
ถ้าคุณเจอเหตุการณ์ คล้ายๆ กันนี้ คุณจะทำอย่างไร
“ก็เซ็งน่ะสิ ถามได้” :)

คร้าบ ใช่คร้าบ เป็นผม ผมก็รู้สึกแบบเดียวกัน แต่ว่า คำถามของผม ไม่ใช่ถามว่า “รู้สึกยังไง” ผมถามว่า “แล้วคุณรับมือกับมันยังไง” ต่างหาก

“ทำ ใจ” คือคำตอบ อืมม สั้นและก็ง่ายดี หลายคนก็คงทำแบบนั้น
แล้วต่อจากนั้นล่ะ หลังจากที่คุณ “ทำใจ” แล้ว คุณยังมีความสุขกับเรื่องเหล่านั้นต่อไปได้หรือเปล่า
ถ้าคำตอบคือ “ใช่” คุณไม่ต้องอ่านต่อแล้วก็ได้ครับ

แต่ถ้าคำตอบคือ “ไม่ใช่” ผมอยากให้คุณอ่านต่อไปนะครับ
ก็อย่างที่จั่วหัวไว้ครับ ว่า “เปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน”

วิธีคิด หรือ ทัศนคติ คือหัวใจสำคัญ ของคำตอบครับ
คิดดี ก็ทำให้คุณรู้สึกดี ยกตัวอย่างเช่น เวลาคุณรักใคร คุณก็มีความรู้สึกดีๆ กับเค้า ตัวคุณเองก็มีความสุขไปด้วย

คิด ไม่ดี ก็ทำให้คุณรู้สึกไม่ดี เช่น เวลาคุณเกลียด หรืออิจฉาริษยาใคร ความเกลียดต่างๆ เหล่านั้น มันอยู่ในตัวคุณ คนที่คุณเกลียดนั้นเค้าไม่ได้รู้สึกอะไรด้วยเลย ดังนั้น คุณนั่นเองที่มีความเกลียดนั้น อยู่ในตัวเอง แล้วมันก็คอยบั่นทอนจิตใจคุณ ทำร้ายจิตใจของตัวคุณเอง
เอาล่ะครับ จากคำถามที่เริ่มต้นด้วยคำว่า “เคยมั้ย” เราจะมาดูกันว่า คนที่มีทัศนคติที่ดี จะคิด หรือทำยังไง ผมหวังว่าจะพอมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ได้บ้างนะครับ

เคยมั้ย กรณีที่ 1 ที่ของที่ซื้อของมาตอนไปเที่ยวเมืองนอก แล้วมารู้ทีหลังว่าของชิ้นนั้น เมด อิน ไทยแลนด์  ถ้าเจออย่างนี้ ไม่ว่าใครก็คงจะเซ็งอยู่แป๊บนึง แต่ถ้าเราคิดในแง่บวก ก็จะคิดว่า
“เออ เว้ยเฮ้ย อยู่เมืองไทยมาจนแก่ ยังหาซื้อของแบบนี้ไม่ได้ แต่ดันไปหาได้ที่เมืองนอก เจ๋งเหมือนกันเว้ยเรา 555″

เคยมั้ย กรณีที่ 2 ที่คุณทำงานของตัวเองเสร็จแล้ว แต่เพื่อนยังทำงานของเค้าไม่เสร็จ และคุณต้องมารอทำงานชิ้นนั้นต่อจากเพื่อนอีกที แต่เพื่อนก็ยังทำไม่เสร็จซักที สุดท้ายเจ้านายก็สั่งให้ไปช่วยเพื่อนทำงานด้วยให้เสร็จ แล้วค่อยมาทำงานของคุณเองต่อ
บางคนเจอแบบนี้ อาจจะเซ็งอยู่แป๊บนึง (ความรักในตัวหัวหน้าจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะเซ็งนานแค่ไหน อิอิอิ) บางคนก็จะคิดว่า
“เออ ไปช่วยมันทำงานหน่อยก็ได้ (วะ) จะได้รู้งานของมันไปด้วย”
สำหรับคนที่มีทัศนคติที่ดี ถ้าเค้ารู้ก่อนว่างานเพื่อนไม่เสร็จ เค้าจะเข้าไปช่วยเพื่อนเค้าทำเลย โดยไม่ต้องรอให้เจ้านายมาบอก (ไอ้การนั่งกระดิกนิ้วเท้ารอทำงานของตัวเองอย่างเดียวนี่มันไม่ ค่อยเป็นการสร้างสรรค์เท่าไหร่นัก ฮี่ฮี่) การที่เราเข้าไปช่วยเพื่อนทำงานเลย มีผลลัพธ์สามอย่าง หนึ่งประสิทธิภาพของงานโดยรวมดีขึ้น และงานเสร็จไวขึ้น สองคุณได้ขยายขอบเขตความรู้ของตัวคุณเองออกไปอีก (มีประสบการณ์เพิ่มขึ้นอีกอย่าง ว่างั้นเถอะ) และสามคือเรื่องน้ำใจและจิตใจล้วนๆ ครับ และผลลัพธ์ที่สี่ ห้า หก จะตามมาอีกเป็นกระบุงโกย ลองดูมั้ยล่ะ

เคยมั้ย กรณีที่ 3 ที่สั่งซื้อของจากทางอินเตอร์เน็ท พอของมาถึงกลับพบว่ามีตำหนิที่เกิดจากการผลิต
ถ้าผมเจออย่างนี้ผมก็เซ็งแน่นอน ที่นี้ ทางเลือกก็มีอยู่สามทางคือ หนึ่งส่งไปเปลี่ยนหรือให้เค้าแก้ไขให้ แล้วส่งกลับมาใหม่ สองคือคืนของพร้อมขอเงินคืน กับสามคือเปลี่ยนความคิดและอยู่กับตำหนินั้น “อย่างมีความสุข”

ซึ่งจากทางเลือกทั้งหมด เราคงจะวิเคราะห์ได้ว่า
หนึ่ง ถ้าส่งไปเปลี่ยน หรือซ่อม ทั้งกระบวนการอาจใช้เวลานานถึงเดือน แล้วของที่กลับมาอาจจะซ่อมไม่หาย หรือมีตำหนิที่อื่นๆ ได้เหมือนกัน หรือของอาจสูญหายในระหว่างส่งไปกลับก็ได้ และอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากกระบวนการส่งไปเคลม มูลค่าของของนั้นก็ไม่ได้สูงนัก
สอง คือคืนของพร้อมขอเงินคืน
สาม มีตำหนิก็ไม่เห็นจะเป็นไร (สมมติว่าของที่เราซื้อนี้เป็นนาฬิกา) นี่แหละจะเป็นเอกลักษณ์ของนาฬิกาเราเลย ไม่มีของใครเหมือนเรา และถ้ามันหายไปหรือโดนขโมย ตอนได้กลับคืนก็จะบอกได้เลยว่า นาฬิกาเรือนนั้นเป็นของเราจากตำหนิที่เราแจ้ง ไว้นั่นแหละ หรือเวลาแจ้งความ ก็ระบุได้อย่างชัดเจนเลยว่านาฬิกาของเรามีตำหนิอยู่ตรงนั้น ตรงนี้ ซึ่งลอกเลียนแบบไม่ได้ (หลายท่านอาจแย้งว่า ดูที่เลข Serial number ของนาฬิกาก็ได้ แต่บางครั้งขโมยเค้าฝนเลขออกไปน่ะสิ แต่ตำหนินี่เป็นสิ่งที่เรารู้คนเดียว ดังนั้น มันคงลอกเลียนหรือแก้ไขลำบาก)

เมื่อ วิเคราะห์ทางเลือกของกรณีที่สามนี้แล้ว คุณจะเลือกทางเลือกไหนล่ะ ผมขอเลือกข้อสาม และใช้นาฬิกาเรือนนี้อย่างมีความสุขครับ

จากเรื่องด้านบน คงจะพอสรุปได้ว่า วิธีคิดและทัศนคติที่ดีนั้นจะช่วยให้ทั้งเรา และผู้อื่นมีความสุขได้อย่างไร ผมหวังว่ามันคงจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ อยู่บ้างไม่มากก็น้อย และถ้าเป็นไปได้ ผมอยากให้ลองนำไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ :)